ย้อนรอยพระราชกรณียกิจในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์มิ่งขวัญแห่งเหล่าปวงประชาชนคนไทย
articlesผ่านมาเป็นเวลา 1 ปี จากเหตุการณ์ที่พสกนิกรไทยทั้งทั่งแผ่นดินต้องโศกเศร้าจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากพระองค์เป็นอีกหนึ่งพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงงานหนักเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนคนไทยดีขึ้น ส่งผลให้เหล่าชาวไทยทั่วล้ายกย่องเทิดทูนพระองค์สถิตไว้ในหัวใจ และอาลัยอย่างหาที่สุดไม่ได้ต่อการจากไปของพระองค์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ปีที่ผ่านมา
ตลอด 70 ปี ที่ครองราชย์ พระองค์ได้ทรงพระราชกรณียกิจไว้มากมาย รวมถึงมีพระราชดำริโครงการต่างๆ ช่วยเหลือเหล่าปวงประชาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และด้วยการจากไปของพระองค์ครบบรรจบเป็นเวลา 1 ปี จึงขอนำเกร็ดสาระและพระราชกรณียกิจในหลวงรัชกาลที่ 9 มานำเสนอให้ได้ทราบอย่างทั่วถึงกัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสูติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานพระนามว่า “ภูมิพลอดุลเดช” จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีความหมายของพระนามว่า “ผู้ทรงกำลังอำนาจ ไม่มีสิ่งใดเทียบในแผ่นดิน” พระองค์เป็นพระโอรสองค์เล็กของกรมหลวงสงขลานครินทร์สมกับเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเรียกเป็นการส่วนพระองค์ว่า “เล็ก”
พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2489 พร้อมพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และได้ราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชสันตติวงศ์ด้วยกันดังนี้
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระองค์นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์นานที่สุดในโลก จนเสด็จสวรรคต 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สิ่งที่สำคัญที่เหล่าชนไทยทุกชนชั้นเคารพรักพระองค์นั้นคือความเมตตาธรรมและพระราชกรณียกิจมากมายที่พระองค์ทำมาตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งมีโครงการตามพระราชดำริมากมายถึง 2,000 โครงการเลยทีเดียว ยกตัวอย่างพระราชกรณียกิจในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สำคัญได้แก่
โครงการแกล้งดิน เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวของเหล่าเกษตรกร ผ่านกระบวนการขังน้ำให้ท่วมพื้นที่ รอจนเกิดกระบวนการทางเคมีให้ดินเปรี้ยวจัด แล้วระบายน้ำออกพร้อมปรับสภาพดินใหม่ด้วยปูนขาว จนดินกลับสู่สภาพปกติและสามารถนำมาใช้เพาะปลูกได้
โครงการปลูกหญ้าแฝก พระองค์ได้มีแนวคิดการใช้หญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของดิน โดยหญ้าแฝกเป็นพืชที่มีรากยาวหลายเซ็นติเมตร เมื่อปลูกลงไปในดินรากของหญ้าก็จะไปเกาะให้เนื้อดินเป็นก้อนยึดกัน พระองค์ได้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกแล้วสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนปัจจุบันได้มีหลาบหน่วยงานได้นำแนวคิดของพระองค์ไปใช้พัฒนาต่ออีกมากมาย
โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน พระองค์ได้พระราชทานหน่วยแพทย์หลวงให้กับประชาชนผู้ยากไร้เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยจะมีทั้งเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์ บริการให้ราชฏรโดยไม่คิดมูลค่า รวมถึงมีการจัดอบรมแพทย์ตามหมู่บ้านช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพประชาชนในอีกทางหนึ่ง
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โครงการดังกล่าวได้จัดทำเป็นหนังสือสารนุกรมรวมเล่ม และสารานุกรมออนไลน์ โดยมีการรวบรวมเนื้อหาจากศาสตร์หลากหลายสาขาวิชาให้เหล่าเยาวชนได้มีโอกาสอ่านพัฒนาความรู้
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เหล่าชาวไทยคุ้นหูเป็นอย่างดี ซึ่งหัวใจหลักของโครงการนี้มุ่งเน้นถึงความพอเพียงสำหรับประสพนิกรผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก เริ่มจากการแบ่งพื้นที่เกษตรออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ขุดเป็นสระน้ำ 30%, ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%, ปลูกผักผลไม้ ไม้ยืนต้น 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10% อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้เหล่าเกษตรกรรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ ตลอดจนติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีสืบไป นอกจากนี้หลักความพอเพียงยังสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพได้อย่างง่ายเพียงแค่รู้จักคำว่าพอและควบคุมการใช้จ่ายให้มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิต
บทพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก โดยมีใจความสำคัญที่ความวิริยะหมั่นเพียรเป็นหลัก เป็นคำสอนให้ประชาชนได้นำไปยึดถือปฏิบัติ ซึ่งบทพระราชนิพนธ์ดังกล่าวได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตีพิมพ์เป็นฉบับการ์ตูนในปีกาญจนาภิเษก ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี อีกด้วย
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระราชวังสวนจิตรลดามิใช่เพียงเป็นที่ประทับของพระองค์เท่านั้น แต่พระองค์ยังได้สละพระราชทรัพย์สร้างโครงการขึ้นมากมายในกำแพงพระราชวัง ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาเชิงเกษตร โครงการโคนมจิตรลดา โรงผลิตนมอัดเม็ดจิตรลดา น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น
โครงการฝนหลวง เนื่องจากช่วงฤดูแล้งของบางภูมิภาคเกิดภาวะขาดแคลนฝน ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถปลูกผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยังชีพได้ พระองค์จึงได้มีพระราชดำริจัดทำฝนหลวงขึ้น ซึ่งเป็นการใช้เครื่องบินนำสารเคมีไปโปรยในท้องฝ้าให้กลุ่มเมฆมารวมตัวกันจนเกิดการกลั่นตัวเป็นน้ำฝน
กังหันน้ำชัยพัฒนา ที่เป็นเครื่องมือบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมออกซิเจนในอากาศลงไปในน้ำ สามารถแก้ไขความเสื่อมโทรมของสภาพน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนได้รับการจดสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก
โครงการแก้มลิง เป็นอีกหนึ่งโครงการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยใช้หลักการพื้นที่หน่วงน้ำสำหรับแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยในปัจจุบันนี้ได้มีโครงการแก้มลิงขนาดใหญ่ในแถบฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ และแก้มลิงขนาดเล็กกระจายรอบกรุงเทพหว่า 20 จุด
ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงโครงการเสี้ยวหนึ่งของในหลวงรัชกาลที่ 9 เท่านั้น หากนับพระราชกรณียกิจของพระองค์รวมกันแล้ว ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงงานหนักเพื่อปวงชนชาวไทยมากมายเพียงใด แม้ว่าในขณะนี้พระองค์ท่านจะเสด็จสู่สวรรคาลัยไปแล้ว แต่เหล่าชาวไทยทุกคนจะรำลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์สืบต่อไป