การปรู๊ฟ (Proof) งานพิมพ์ลักษณะต่างๆ
articlesการปรู๊ฟ (Proof) งานพิมพ์ลักษณะต่างๆ
การปรู๊ฟ (Proof) คือการตรวจสอบความถูกต้องตัวอย่างงานก่อนผลิตจริง เพื่อป้องกันความผิดพลาด เป็นขั้นตอนสำคัญในการดูการสะกดคำของเนื้อหา สี ความคมชัดของรูปภาพ การพับ การจัดเรียงหน้า การเข้าเล่ม ระยะตัดตกสำหรับการตัดเจียน รวมถึงเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ว่าได้ตามที่ต้องการหรือไม่ เนื่องจากในขั้นตอนการเตรียมไฟล์งานให้พร้อมในการพิมพ์ โรงพิมพ์อาจมีการปรับอาร์ตเวิร์คบางส่วนตามความเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันมีลักษณะการปรู๊ฟงานพิมพ์ที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้
1. ปรู๊ฟออนไลน์
เป็นการตรวจงานด้วยไฟล์ PDF ก่อนทำเพลท ส่วนมากใช้ในการตรวจสอบการสะกดคำ การเรียงหน้า ความคมชัดของภาพ รวมถึงเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ถือว่าเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดเพราะมีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลา แต่การปรู๊ฟลักษณะนี้จะไม่สามารถตรวจสอบเรื่องสีได้ละเอียดนัก เนื่องจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ แสดงผลด้วยแสง RGB (Red Green Blue)
- ปรู๊ฟดิจิตอล
เมื่อปรู๊ฟออนไลน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การปรู๊ฟดิจิตอลจึงเป็นที่นิยมในการตรวจสอบให้แน่ชัดอีกครั้ง โดยการพิมพ์ผ่านเครื่องดิจิตอลปริ้นท์ ทำให้ลูกค้าได้เห็นภาพที่ใกล้เคียงกับงานจริงถึง 80-90% และความใกล้เคียงของสีอยู่ที่ประมาณ 85-90%
- ปรู๊ฟหน้าแท่น
คือการยืนเช็คสีที่หน้าแท่น โดยตรวจจากกระดาษและเพลทที่ใช้งานจริง ทำให้มีคุณภาพมากถึง 95-97% เหมาะกับงานพิมพ์ที่มีความจำเป็นเรื่องสีเป็นพิเศษ อาทิ บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง งานยาต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากต้องการแก้ไขงาน
- ปรู๊ฟเพลท
เป็นงานปรู๊ฟที่มีความละเอียดกว่าการปรู๊ฟดิจิตอล ใกล้เคียง แม่นยำกับงานจริงถึง 85-95% เป็นการปรู๊ฟงานจากต้นฉบับของเพลทที่จะใช้ในการพิมพ์งานจริงออกมาเมื่อรู้จักการปรู๊ฟในลักษณะต่างๆ กันไปแล้ว หากลูกค้าต้องการปรู๊ฟออนไลน์ ร้าน PIM123 มีให้บริการค่ะ หรือถ้าต้องการปรู๊ฟดิจิตอลอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ > > ข้อตกลงการออกแบบ (https://www.pim123.com/ข้อตกลงการออกแบบ/) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการปรู๊ฟหน้าแท่นกับปรู๊ฟเพลท สอบถามเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-026-3340 ค่ะ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดจนต้องมานั่งแก้ไข ตรวจปรู๊ฟซ้ำไปซ้ำมา จนต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ดังนั้น การส่งไฟล์งานที่สมบูรณ์แบบมาให้โรงพิมพ์จึงสำคัญไม่แพ้กัน มาดูทริคง่ายๆ ในการส่งไฟล์กันค่ะ >> ไฟล์งานที่เหมาะสมในการพิมพ์ ( https://www.pim123.com/ไฟล์งานที่เหมาะสมในการพิมพ์นามบัตร/)